วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7


วันพุธ ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2560



                                 รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ความรู้ที่ได้รับ


          อาจารย์ให้ตัวแทนของกลุ่มออกไปเล่าถึงการไปสอบถามความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ได้ข้อสรุปว่า ผู้ปกครองให้ความสนใจในเรื่อง สื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมากที่สุด รองลงมาคือ ภาษาและการสื่อสารกับเด็กปฐมวัย อันดับที่ 3 มีคะแนนเท่ากันคือ หนังสือเสริมสร้างพัฒนาการและภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย อันดับที่ 4 คือ อาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย อันดับที่ 5 มีคะแนนเท่ากัน คือ ดนตรีบำบัดสำหรับเด็กปฐมวัยและเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย








         ต่อจากนั้นอาจารย์ได้ให้ออกแบบแผ่นพับของตัวเอง โดยทำเป็นรูปแบบของสารสัมพันธ์ ที่จะแจกให้กับท่านผู้ปกครองของเด็กๆ โดยเรื่องที่ดิฉันจะทำก็คือ ยานพาหนะ 

โดยเนื้อหาในแผ่นพับจะประกอบด้วย
  - การแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่าสัปดาห์นี้เด็กๆเรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร
  - บันทึกเพื่อลูกรัก ส่วนนี้จะเป็นคำถาม โดยให้ผู้ปกครองถามแล้วให้เด็กๆตอบ
  - จากใจครูสู่ผู้ปกครอง เป็นความรู้โดยทั่วๆไป ที่ครูต้องการให้ความรู้กับผู้ปกครอง
  - กิจกรรมสำหรับเด็ก เป็นส่วนที่ให้เด็กๆได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง เช่น วาดภาพ ระบายสี
  - สนุกกับเพลง มีเพลง และคำคล้องจอง ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่เรียน





วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6


วันจันทร์ ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2560


    รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ความรู้ที่ได้รับ



        อาจารย์ตรวจแบบสอบถาม ความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย เพื่อที่แบบสอบถามจะได้มีความถูกต้อง สามารถนำไปใช้ในการสอบถามได้





        โดยแบบทดสอบนี้ จะนำไปใช้ในการสอบถามผู้ปกครองที่ มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมเสือใหญ่



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วันจันทร์ ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2560



                 รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ความรู้ที่ได้รับ


                          รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา

              สถานศึกษาปฐมวัยจะต้องทำหน้าที่และร่วมกันรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็กอย่างถูกวิธี  

      รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน

        🌠 ข่าวสารประจำสัปดาห์
              เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย
- รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
- พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
- กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
- เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
- ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น





        🌠 จดหมายข่าวและกิจกรรม
              เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง ดังนี้
- ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
- กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
- ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ


         🌠 ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
              จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
- ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
- เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
- ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
- ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
- กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ

           🌠 การสนทนา
              การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
- เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน

          รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา

            🌙 ห้องสมุดผู้ปกครอง
              เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ  

             🌙 ป้ายนิเทศ
              ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
- ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯลฯ
- ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
- ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
- ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
- ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
- กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
- ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น

             🌙 นิทรรศการ
            เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษาดังนี้
- นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
- นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
- นิทรรศการเพื่อความบันเทิง

             🌙 มุมผู้ปกครอง
               เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู เป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครองคือ
- เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
- เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
- เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก ฯลฯ

             🌙 การประชุม
               เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย จุดประสงค์ของการจัดประชุมผู้ปกครองมีดังนี้
- เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
- แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน
- ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
- สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู
- พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ

             🌙 จุลสาร
          เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์ เนื้อหาในจุลสารจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ  เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด การจัดทำจุลสารเพื่อให้มีความน่าสนใจ โดยพิจารณาดังนี้
- เนื้อหาความรู้ที่นำเสนอ  
- จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ
- ภาพประกอบมีสีสันสวยงาม  
- ภาษาไม่ควรจะเป็นวิชาการมากเกินไป
- ควรมีคอลัมน์สำหรับผู้ปกครอง

               🌙 คู่มือผู้ปกครอง
               เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป ข้อมูลในคู่มือผู้ปกครองประกอบไปด้วย
- ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
- หลักสูตรและการจัดประสบการณ์
- บุคลากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ
- อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม
- การจัดบริการและสวัสดิการต่างๆ
- กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ สำหรับผู้ปกครองได้ทราบโดยทั่วกัน
- การวัดและประเมินผล






สรุป

             รูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าว สถานศึกษาสามารถจัดให้บริการแก่ผู้ปกครอง โดยมีข้อคิดที่สำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากสูงสุด  


          

คำถามท้ายบท


1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ข่าวสารประจำสัปดาห์ , จดหมายข่าวและกิจกรรม

2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 2.1การสนทนา เช่น การพบประพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเด็ก
        2.2ป้ายนิเทศ เพื่อให้ความรู้ ข่าวสารกับผู้ปกครอง
        2.3นิทรรศการ เช่น นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
        2.4การประชุม เช่น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง
        2.5ห้องสมุดผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา
        2.6มุมผู้ปกครอง เช่น ผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
        2.7อินเทอร์เน็ต เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานศึกษา
        2.8จุลสาร ประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครอง
        2.9คู่มือผู้ปกครอง ให้ผู้ปกครองได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสถานศึกษา

3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย 
ตอบ ทำจดหมายข่าวแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบ

4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย

5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ การสนทนา เพราะสามารถอธิบายได้ เมื่อผู้ปกครองเกิดข้อสงสัย สามารถสอบถามได้เลย

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วันจันทร์ ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2560


                                     


ความรู้ที่ได้รับ


                          โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ


 โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
       
       🔻 โครงการแม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
- ใช้รูปแบบการทดลองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
- มารดามีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก  
- ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
- เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

       🔻 โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
         ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”

       🔻 โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
          โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน  ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน  โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ




โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ

        โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
            ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่ 

         โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH  
                     (Early Childhood Enrichment Center)
             ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้
- สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก และถ้าเด็กมีปัญหาทางด้านพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาก็จะเสนอแนะให้รู้จักกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อรับฟังคำแนะนำ 
- จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก
- ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก จัดกิจกรรมเสนอแนะให้แม่ที่ไม่เคยมีเวลาว่างไปร่วมในศูนย์ ALEH เพื่อจัดกิจกรรมในข้อขั้นต้น

         โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
              จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง วัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูกในการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนสเซอรี่ หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี เกมการศึกษา นาฏศิลป์ ร้องรำทำเพลง ฯลฯ โดยก่อนเริ่มกิจกรรมจะมีกรพูดคุยกับพ่อแม่ถึงกิจกรรมที่จะเล่นกับเด็ก และเมื่อจบกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยสรุปและประเมินผลที่ได้ในวันนั้นๆ ระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้จัด  

         โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
               โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
               นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”


        โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
               เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก” และได้มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน  โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี “หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กสามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 4 เดือน โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น


สรุป
           จากโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ 


คำถามท้ายบท

1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ จัดทำโครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กเช่น จัดโครงการประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ ก็จะให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมร่วมประดิษฐ์กับเด็ก

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ 
ตอบ  3.1เรื่องอาหารและโภชนาการ เช่น เด็กในแต่ละช่วงวัยควรรับประทานอาหารอย่างไรให้เหมาะกับวัยนั้นๆ
        3.2เรื่องพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย เช่น การส่งเสริมทักษะของเด็กให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
        3.3สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ เป็นการให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาร่วมกับเด็ก
        3.4นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น การเลือกนิทานที่ดีและเหมาะกับเด็ก
        3.5เพลงสำหรับเด็ก เช่น การร้องเพลงช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างไร

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก เพราะ การให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องราวของเด็ก เช่น เด็กในวัยนี้จะมีพฤติกรรมแบบนี้ แต่เด็กยังไม่แสดงพฤติกรรมออกมา ก็ทำให้ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยส่งเสริมพฤติกรรมนั้นของเด็กให้แสดงออกมา

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ พูดคุยกับผู้ปกครอง



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันพุธ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2560                           ความรู้ที่ได้รับ              ➽ นำเ...