วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วันจันทร์ ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2560


                                     


ความรู้ที่ได้รับ


                          โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ


 โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
       
       🔻 โครงการแม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
- ใช้รูปแบบการทดลองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
- มารดามีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก  
- ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
- เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

       🔻 โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
         ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”

       🔻 โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
          โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน  ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน  โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ




โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ

        โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
            ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่ 

         โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH  
                     (Early Childhood Enrichment Center)
             ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้
- สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก และถ้าเด็กมีปัญหาทางด้านพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาก็จะเสนอแนะให้รู้จักกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อรับฟังคำแนะนำ 
- จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก
- ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก จัดกิจกรรมเสนอแนะให้แม่ที่ไม่เคยมีเวลาว่างไปร่วมในศูนย์ ALEH เพื่อจัดกิจกรรมในข้อขั้นต้น

         โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
              จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง วัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูกในการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนสเซอรี่ หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี เกมการศึกษา นาฏศิลป์ ร้องรำทำเพลง ฯลฯ โดยก่อนเริ่มกิจกรรมจะมีกรพูดคุยกับพ่อแม่ถึงกิจกรรมที่จะเล่นกับเด็ก และเมื่อจบกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยสรุปและประเมินผลที่ได้ในวันนั้นๆ ระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้จัด  

         โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
               โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
               นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”


        โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
               เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก” และได้มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน  โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี “หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กสามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 4 เดือน โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น


สรุป
           จากโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ 


คำถามท้ายบท

1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ จัดทำโครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กเช่น จัดโครงการประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ ก็จะให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมร่วมประดิษฐ์กับเด็ก

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ 
ตอบ  3.1เรื่องอาหารและโภชนาการ เช่น เด็กในแต่ละช่วงวัยควรรับประทานอาหารอย่างไรให้เหมาะกับวัยนั้นๆ
        3.2เรื่องพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย เช่น การส่งเสริมทักษะของเด็กให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
        3.3สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ เป็นการให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาร่วมกับเด็ก
        3.4นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น การเลือกนิทานที่ดีและเหมาะกับเด็ก
        3.5เพลงสำหรับเด็ก เช่น การร้องเพลงช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างไร

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก เพราะ การให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องราวของเด็ก เช่น เด็กในวัยนี้จะมีพฤติกรรมแบบนี้ แต่เด็กยังไม่แสดงพฤติกรรมออกมา ก็ทำให้ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยส่งเสริมพฤติกรรมนั้นของเด็กให้แสดงออกมา

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ พูดคุยกับผู้ปกครอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันพุธ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2560                           ความรู้ที่ได้รับ              ➽ นำเ...