วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


วันพุธ ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2560



                              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่นลายน่ารัก


ความรู้ที่ได้รับ


                          การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย


       🎸 ความหมายของการสื่อสาร  🎸

        • การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
        • การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข

       🎸 ความสำคัญของการสื่อสาร 🎸
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

        🎸 รูปแบบของการสื่อสาร 🎸
• รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
• รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
• รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
• รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )
• รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 

        🎸 องค์ประกอบของการสื่อสาร 🎸
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

➤ ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
• ผู้จัดกับผู้ชม
• ผู้พูดกับผู้ฟัง
• ผู้ถามกับผู้ตอบ
• คนแสดงกับคนดู
• นักเขียนกับนักอ่าน
• ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
• คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน
➤ สื่อ
                        ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์  ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ
➤ สาร
                       คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน               ความปรารถนาดี  ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

        🎸 ประเภทของการสื่อสาร 🎸
                         ได้มีจำแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ในที่นี้จะแสดงการจำแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ  3 ประการ คือ
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร

    ➧ การสื่อสารกับตนเอง
• การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร
• การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจ
• เนื้อหาไม่มีขอบเขตุจำกัด
• บางครั้งมีเสียงพึมพำดังออกมาบ้าง
• บางครั้งเกิดความขัดแย้งในใจและไม่อาจตัดสินใจได้
• อาจเป็นการปลอบใจตนเอง การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ
    ➧ การสื่อสารระหว่างบุคคล
• บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม
• เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
• อาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น
• สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น
    ➧ การสื่อสารสาธารณะ
• มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน 
• มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
• เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา
• เช่น การบรรยาย การปาฐกถา  การอมรม การสอนในชั้นเรียน
    ➧ การสื่อสารมวลชน
• ลักษณะสำคัญคล้ายการสื่อสารสาธารณะ
• ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจการกระจายสูง รวดเร็ว กว้างขวาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมและสื่อมวลชน 
• ต้องคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นที่เห็นว่าควรนำเสนอ
• อาจสนองความต้องการและความจำเป็นของมวลชนมากหรือน้อยได้
    ➧ การสื่อสารในครอบครัว
• เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของมนุษย์
• ประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับความตั้งใจดีของสมาชิกในครอบครัว
• คุณธรรมที่ดีงามในครอบครัวจะช่วยพัฒนาการสื่อสารไปในทางดีงามเสมอ
• ต้องยอมรับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
• คนต่างรุ่นต่างวัยในครอบครัวต้องพยายามทำความเข้าใจให้ตรงกัน
• ควรคำนึงถึงมารยาทที่ดีงามอยู่เสมอ
    ➧ การสื่อสารในโรงเรียน
• ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารกับบุคคลที่คุ้นเคย
• เนื้อหามักเกี่ยวกับวิชาการ พื้นฐานอาชีพและหลักการดำเนินชีวิต
• มีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่มและการสื่อสารสาธารณะ
• อาจใช้เวลานานเพราะเรื่องราวมีปริมาณมาก
• อาจมีโอกาสโต้แย้งถกเถียง ควรยอมรับข้อเท็จจริงและไม่ใช้อารมณ์
• ข้อเท็จจริงและข้อสรุปบางเรื่องไม่ควรนำไปเผยแพร่
• ควรระมัดระวังคำพูดและกิริยามารยาท
• คุณธรรมด้านความซื่อสัตย์และการยอมรับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญ

        🎸 อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร 🎸
• ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
• ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
• ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
• ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
• เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
• รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
• ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
• อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
• ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

สรุป
                                  การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน

คำถามท้ายบท

1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ ความหมาย > กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
        ความสำคัญ > ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม , ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย

2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ สามารถทำให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจตรงกันง่ายขึ้น

3. รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (ผู้พูด → คำพูด → ผู้ฟัง) เช่น ครูนำข่าวสารแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ

4. ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก , มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก

5. ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ ความพร้อม , ความต้องการ , อารมณ์และการปรับตัว , การจูงใจ , การเสริมแรง , ทัศนคติและความสนใจ , ความถนัด








บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


วันพุธ ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2560



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่นลายน่ารัก


ความรู้ที่ได้รับ


                      หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย


      คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา

• Educational Networking  การสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
• Understanding  การสร้างความเข้าใจ
• Behavior change  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
• Parental Involvement  การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
• Role of parent  บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
• Parent education model  รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครอง
• Formal education   การให้ความรู้แบบเป็นทางการ

• Informal education   การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ

      ความหมายของการให้การศึกษาผู้ปกครอง
                     Linda  Bierstecker, 1992  กล่าวว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง (parent education)  หมายถึง การให้ผู้ปกครองได้เข้าใจว่าเด็กได้ทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็ก    เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีการที่จะช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
                   กุลยา  ตันติผลาชีวะ (2544)  กล่าวว่า การศึกษาสำหรับผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเลี้ยงดูเด็กให้ถูกต้องและมีพัฒนาการที่ดี วิธีการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองนี้มีหลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม การจัดการศึกษาอาจกำหนดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายการศึกษาสำหรับผู้ปกครองเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบที่จะสร้างให้ผู้ปกครองมีความรู้ของการเป็นผู้ปกครองและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับโรงเรียนในการที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปอย่างเต็มศักยภาพ

                         สรุปความหมายของการให้การศึกษาผู้ปกครอง  การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคมทั้งในและนอกระบบ   การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต

      ความสำคัญของการให้การศึกษาผู้ปกครอง
                    Verna, 1972  กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งกันและกัน อันจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่อกัน ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กเกิดความสับสน
                    Galen,  1991  กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูลที่ดีในการเลี้ยงดู และการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการศึกษาของผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จได้
                          
                          สรุปความสำคัญของการให้การศึกษาผู้ปกครอง ดังนี้
1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

      วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาผู้ปกครอง
                    Linda  Bierstecker, 1992  ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองไว้ ดังนี้
1. เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีดูแลเด็กและการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
2. เพื่อให้ผู้ปกครองและครูประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กร่วมกัน
3. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความต้องการของเด็กและสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านได้อย่างถูก
                          สรุปวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาผู้ปกครอง ดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

      รูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครอง
                  การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความสำคัญที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
- การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
 - การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย

                 ผู้ปกครองถือเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียนรู้ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กปฐมวัย การที่ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตตั้งแต่เริ่มต้น การให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานทุกฝ่าย เพื่อดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้ผู้ปกครอง หน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการให้ความรู้  แก่ผู้ปกครอง คือ สถานศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การจัดการศึกษาของสถานศึกษา บทบาทของผู้ปกครองกับการศึกษาของเด็กทั้งที่บ้านและสถานศึกษา โดยดำเนินการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยเลือกรูปแบบวิธีการ   ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครอง   รับประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ บ้านเป็นฐานการเรียนรู้ โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ และชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้

คำถามท้ายบท

          1. การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาแก่เด็ก 
      
      2. ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง  จงอธิบาย และยกตัวอย่างของกิจกรรม
ตอบ 1)การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน
   2)การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก การประชุม
   3)การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด

           3. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ตอบ ทำให้สามารถเข้าถึงผู้ปกครองได้ง่าย และได้รู้ถึงความเป็นอยู่ของนักเรียนด้วย

           4. องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
ตอบ พัฒนาการของเด็ก , วิธีการอบรมเลี้ยงดู

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


วันพุธ ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2560

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่นลายน่ารัก

ความรู้ที่ได้รับ


      ความหมายของผู้ปกครอง

       ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ได้มีผู้ให้ความหมายของผู้ปกครองไว้ ดังนี้
  Summers Della,1998  กล่าวว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อหรือแม่ของบุคคล
  Encyclopedia,2000   อธิบายไว้ว่า ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นพ่อหรือผู้ที่เป็นแม่ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ
  1. ผู้ปกครองโดยสายเลือด

  2. ผู้ปกครองโดยสังคม

  พรรณิดา  สันติพงษ์ (2526) ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเด็ก โดยอยู่ร่วมกันในครอบครัวเดียวกันและมีส่วนในการอบรมสั่งสอน และเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก
  จินตนา  ปัณฑวงศ์ (2531) ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อ แม่ หรือบุคคลอื่น อาจจะเป็นญาติมิตรหรือผู้อื่น ซึ่งพ่อแม่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่อบรมเลี้ยงดูตลอดจนให้การศึกษาแก่เด็ก

  
                สรุปได้ว่า ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย

      ความสำคัญของผู้ปกครอง

  Lee Center and Marlene Center,1992  ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดต่อชีวิตของเด็ก ความรักและความอบอุ่นจากผู้ปกครองเป็นความต้องการของเด็กทุกคน ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก
  Pestalozzi  ได้กล่าวถึง ความสำคัญของพ่อแม่ ผู้ปกครองว่า ความรักของพ่อแม่เป็นพลังสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก ความรักที่ประกอบด้วยเหตุผลและความมุ่งมั่นที่จะปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้แก่เด็กเป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างแท้จริง ความรักที่บริสุทธิ์และความสัมพันธ์ที่อบอุ่นกลมเกลียวกันในครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเด็กในการพัฒนาความคิด ความรู้สึก และการกระทำที่สอดคล้องกัน ซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตที่สมบูรณ์มั่นคงต่อไป
 ฉันทนา  ภาคบงกช (2531)  กล่าวว่า ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่สำคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเป็นผู้ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดสามารถที่จะตองสนองความต้องการพื้นฐานของเด็ก ได้แก่ ความต้องการในการดำรงชีวิต ความต้องการความรักความอบอุ่น นอกจากนี้เด็กยังได้อิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายในครอบครัว เด็กจะมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูจากบ้านเป็นสำคัญ คุณภาพของเด็กมีผลมาจากการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองเป็นอย่างมาก 

                 จากความสำคัญของผู้ปกครองดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง

   
      บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง

   พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้สนับสนุนและวางรากฐานอันสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของชีวิตมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภาวะแห่งความรับผิดชอบในการอบรมเลี้ยงดูและสายใยแห่งความผูกพันระหว่างพ่อแม่ ลูก เป็นพันธะที่จะต้องมีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเอง สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่าง  มีความสุข

➜ บทบาทและหน้าที่ด้านการอบรมเลี้ยงดู
➜ บทบาทและหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
➜ บทบาทและหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษา

                 สรุปบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10 ประการ
1.  ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
2.  ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
3.  ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
5.  ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
6.  ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
7.  ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
8.  ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
9.  เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม

บทสรุป
               ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นซึ่งทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเพื่อให้เด็กมีชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข บทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการสร้างรากฐานของชีวิตในอนาคตกับเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ และการส่งเสริมการศึกษา การที่ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการพัฒนาเด็ก ย่อมเป็นการทำให้ผู้ปกครองจำเป็นต้องแสวงหาองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อนำมาปฏิบัติใช้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในด้านต่างๆ 

คำถามท้ายบท

        1.ในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักศึกษาคิดว่าบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กปฐมวัยมีอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับเด็กมากนัก บางครอบครัวเลยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเลี้ยงดูลูก ซึ่งข้อดีของเทคโนโลยีก็มี และข้อเสียก็มีเช่นกัน

         2.จงอธิบายวิธี แนวทางที่ผู้ปกครองสามารถใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญาให้แก่เด็กปฐมวัย
ตอบ หากิจกรรมที่ได้ทำร่วมกันทั้งครอบครัว เพื่อเป็นการส่งเสริมเด็กในด้านต่างๆมากมาย ให้ความรัก ดูแลเอาใจใส่แก่เด็ก 

         3.การฝึกให้เด็กเป็นคนดี คนขยันและฉลาด ผู้ปกครองควรปฏิบัติอย่างไร 
ตอบ เริ่มจากการให้เด็กคอยช่วยเหลือทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ เพื่อเป็นการฝึกระเบียบวินัยในตนเอง   โดยมีผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำต่างๆ ใช้นิทานเป็นตัวช่วยให้เด็กๆเห็นตัวอย่างของการทำความดี เพื่อที่เด็กจะได้นำไปเป็นแนวทางปฎิบัติ

     4.ปัญหาที่เป็นอุปสรรคของผู้ปกครองที่มีผลกระทบต่อเด็กปฐมวัย คือปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องใด        จงอธิบาย
ตอบ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ไม่มีเวลาให้เด็ก ปล่อยให้เด็กอยู่กับพี่เลี้ยง จึงอาจทำให้เด็กมีปัญหาในภายหลัง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันพุธ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2560                           ความรู้ที่ได้รับ              ➽ นำเ...